วันพฤหัสบดีที่ 12 พฤศจิกายน พ.ศ. 2552
การเปรียบเทียบการวิบัติ slope ชั้นดิน กับ slope ชั้นหิน
ความรู้เกี่ยวกับดินถล่ม
ดินถล่มหรือโคลนถล่ม คือ
ดินถล่ม (Landslide or Mass movement) คือการเคลื่อนที่ของมวลดิน หรือหิน ลงมาตามลาดเขาด้วยอิทธิพลของแรงโน้มถ่วงของโลก โดยปรกติ ดินถล่มที่เกิดขึ้นในประเทศไทย ส่วนใหญ่ “ น้ำ ” จะมีส่วนเกี่ยวข้องกับการเกิดดินถล่มเสมอ โดยน้ำจะเป็นตัวลดแรงต้านทานในการเคลื่อนตัวของมวลดินหรือหิน และน้ำจะเป็นตัวที่ทำให้คุณสมบัติของดินที่เป็นของแข็งเปลี่ยนไปเป็นของไหล ได้
ดินถล่ม เป็นปรากฏการณ์ที่เกิดได้ทั่วไปในบริเวณภูเขาที่มีความลาดชันสูง อย่างไรก็ตาม ในบริเวณที่มีความลาดชันต่ำก็สามารถเกิดดินถล่มได้ถ้ามีปัจจัยที่ก่อให้เกิด ดินถล่ม โดยทั่วไปบริเวณที่มักจะเกิดดินถล่ม คือ บริเวณที่ใกล้กับแนวรอยเลื่อนที่มีพลังและมีการยกตัวของแผ่นดินขึ้นเป็น ภูเขาสูง บริเวณที่ทางน้ำกัดเซาะเป็นโตรกเขาลึกและชัน บริเวณที่มีแนวรอยแตกและรอยแยกหนาแน่นบนลาดเขา บริเวณที่มีการผุพังของหินและทำให้เกิดชั้นดินหนาบนลาดเขา ในบริเวณที่มีความลาดชันต่ำและมีดินที่เกิดจากการผุพังของชั้นหินบนลาดเขา หนา ดินถล่มมักเกิดจากการที่น้ำซึมลงในชั้นดินบนลาดเขาและเกิดแรงดันของน้ำเพิ่ม ขึ้นในชั้นดินโดยเฉพาะในช่วงที่ฝนตกหนักการจำแนกชนิดของดินถล่ม
เกณฑ์ในการจำแนกชนิดของดินถล่ม และการพังทลายของลาดเขา มีหลายอย่าง เช่น ความเร็วและกลไกในการเคลื่อนที่ ชนิดของตะกอน รูปร่างของรอยดินถล่ม และปริมาณของน้ำที่เข้ามาเกี่ยวข้องในกระบวนการดินถล่ม การจำแนกชนิดของดินถล่มที่ใช้กันแพร่หลายได้แก่การจำแนกโดย Varnes, 1975 ซึ่งอาศัยหลักการจำแนก ชนิดของของวัสดุที่พังทลายลงมา ( Type of material ) และลักษณะการเคลื่อนที่ ( Type of movement )• Debris avalanche เป็นการเคลื่อนที่ลงมาตามลาดเขาของมวลดินที่ประกอบด้วยตะกอนหลายขนาดปนกัน และมีขนาดร่องรอยของดินถล่มที่ใหญ่ บางแห่งขนาดความกว้างมากกว่า 3 กิโลเมตร (L.M. Highland and P. Bobrowsky, 2008)
Taylor's chart
Taylor's chart
Taylor's stability chart is the main tool used for engineering analysis of simple homogeneous slope stability problems. It is likely that this situation will continue in the future. One of the main deficiencies of Taylor's original presentation is that it does not provide a convenient, general tool for establishing the critical slip circle associated with a given stability problem. Critical circles define the extent of the potentially unstable zone, and this information is quite useful in many practical situations. The present work completes Taylor's classical investigation of stability of homogeneous slopes, and presents the tools necessary in order to establish not only stability numbers (safety factors), but also critical slip circles associated with those numbers. The information defining critical slip circles is presented in a simple chart form which is convenient for practical applicationsหินที่สนใจ
หินทราย
หินทราย (อังกฤษ: Sandstone) เป็นหินมีลักษณะ เนื้อหยาบ จับดูระคายมือ เพราะประกอบด้วยเม็ดทรายขนาดแตกต่างกัน (1/16 – 2 มม.) เม็ดแร่ส่วนใหญ่เป็นแร่ควอร์ตซ์ แต่อาจมีแร่อื่นและเศษหินดินปะปนอยู่ด้วย เพราะมีวัตถุประสารมีความแข็งมากสามารถขูดเหล็กเป็นรอยได้ มีสีต่าง ๆ เช่น แดง น้ำตาล เทา เขียว เหลืองอ่อน อาจแสดงรอยชั้นให้เห็น มีซากดึกดำบรรพ์
เกิดจากการรวมตัวกันของเม็ดทราย ประกอบด้วยควอร์ตซ์เป็นส่วนใหญ่ อาจมีแร่แมกเนไทต์และไมกาปะปนอยู่ วัตถุประสาร (ซีเมนต์) ส่วนมากเป็นพวกซิลิกา (ควอร์ตซ์ หรือ เชิร์ต) แคลไซด์ โดโลไมต์ เหล็กออกไซด์ ซึ่งมักทำให้หินมีสีเหลือง น้ำตาล แดง
ในประเทศไทย พบมากทางภาคอีสาน จังหวัดราชบุรี เพชรบุรี กาญจนบุรี และทางภาคใต้บางแห่ง
ประโยชน์
หินทรายใช้เป็นวัสดุในการก่อสร้างทำถนน สร้างโบราณสถาน แกะสลักรูปปั้น เช่น พระพุทธรูป
วันเสาร์ที่ 7 พฤศจิกายน พ.ศ. 2552
หินในงานก่อสร้างที่ประทับใจ
ปราสาทหินพนมรุ้งเป็นเทวสถานในศาสนาฮินดู ลัทธิไศวนิกาย มีการบูรณะก่อสร้างต่อเนื่องกันมาหลายสมัย ตั้งแต่ประมาณพุทธศตวรรษที่ 15 ถึงพุทธศตวรรษที่ 17 และในพุทธศตวรรษที่ 18 พระเจ้าชัยวรมันที่ 7 แห่งอาณาจักรขอมได้หันมานับถือพุทธศาสนาลัทธิมหายาน เทวสถานแห่งนี้จึงได้รับการดัดแปลงเป็นศาสนสถานในพุทธศาสนา ในช่วงแรกปราสาทหินพนมรุ้ง สร้างขึ้นจากหินทรายสีชมพู ตั้งอยู่บนยอดเขาพนมรุ้งสูง 1,320 ฟุตจากระดับน้ำทะเล ชื่อพนมรุ้งแปลว่าภูเขาใหญ่ สันนิษฐานว่าสร้างขึ้นในพุทธศตวรรษที่ 15-18
จารึกต่าง ๆ ที่นักวิชาการได้อ่านและแปลพอจะสรุปได้ว่า พระเจ้าราเชนทรวรมันที่ 3 กษัตริย์แห่งเมืองพระนคร (พ.ศ. 1487-1511) ได้สถาปนาเทวาลัยถวายพระอิศวรที่เขาพนมรุ้ง ซึ่งในสมัยแรก ๆ คงยังไม่ใหญ่โตนัก ต่อมาพระเจ้าชัยวรมันที่ 5 (พ.ศ. 1511-1544) ได้ทรงอุทิศที่ดินและข้าทาสถวายแด่เทวสถานพนมรุ้ง ในสมัยพุทธศตวรรษที่ 17 นเรนทราทิตย์ เจ้านายแห่งราชวงศ์มหิทรปุระที่ปกครองดินแดนแถบนี้ (ซึ่งเป็นต้นตระกูลของพระเจ้าสุริยวรมันที่ 2 ผู้สร้างนครวัด) ได้สร้างปราสาทแห่งนี้ขึ้นและได้ทรงบำเพ็ญพรตเป็นโยคี ณ ปราสาทพนม
LandMark
- บนแท่นทรงสี่เหลี่ยมบนฐานกว้าง 3 ชั้น
- สูง 152 ฟุต
- แขนยาว 42 ฟุต
- นิ้วชี้ยาว 8 ฟุต
- เล็บนิ้วยาว 10-13 นิ้ว
- โครงเหล็กแยกเป็นชิ้นส่วนรวม 214 ลัง
- ส่งจากฝรั่งเศสนำมาต่อเป็นรูปร่างสูง 302 ฟุต (วัดจากปลายคบไฟถึงปลายเท้า)
- ใช้แผ่นโลหะทองแดงหรือสำริดรวม 32 ตัน
- ส่วนคบไฟติดตั้งระบบแสงไฟฟ้าเผยแพร่บทความขนาด 13,250 วัตต์
- มีบันไดเวียนไปถึงที่เป็นมงกุฎของเทพีรวมทั้งสิ้น 162 ขั้น
- รวมค่าใช้จ่ายประมาณ 650,000 ดอลลาร์
- งบบูรณะครั้งใหญ่ตั้งแต่ปี 1981 เพื่อจัดฉลอง 100 ปีเทพีเสรีภาพ
- งบบูรณะในปี 1986 ใช้ไป 86 ล้านดอลลาร์ จากที่ระดมทุนมาได้ 265 ล้านดอลลาร์
สถาปนิกที่ฉันชื่นชอบ
อาจารย์นารถ โพธิประสาท (14 พฤศจิกายน 2444 – 18 มิถุนายน 2497) สถาปนิก อาจารย์และผู้ก่อตั้งสถาบันการศึกษาด้านสถาปัตยกรรม ระดับปริญญาแห่งแรกของประเทศไทยที่คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยและผู้ร่วมสถาปนาวิชาชีพสถาปัตยกรรมของประเทศ
เมื่อ พ.ศ. 2477 อายุ 33 ปี อาจารย์นารถได้ร่วมสถาปนิกที่ยังมีจำนวนน้อยในขณะนั้นก่อตั้งสมาคมสถาปนิกสยามในพระบรมราชูปถัมภ์ขึ้น และในปีเดียวกัน เมื่อ วันที่ 1 ธันวาคม ด้วยความจำเป็น กรมโยธาเทศบาลจึงขอโอนอาจารย์นารถไปเป็นนายช่างสถาปนิก หัวหน้ากองสถาปัตยกรรม ในกรมโยธาเทศบาลเนื่องจากรัฐบาลในขณะนั้นได้เร่งรัดพัฒนาประเทศ โดยเฉพาะด้านการก่อสร้าง จึงต้องหาผู้มีความรู้ความสามารถโดยตรงมาวางรากฐาน
[แก้]ผลงานในกรมโยธาเทศบาล (กรมโยธาธิการและผังเมืองปัจจุบัน)
อาจารย์นารถได้วางระเบียบแบบแผนในการปฏิบัติราชการโดยใช้หลักวิชาครูในการปกครองผู้ใต้บังคับบัญชา ทำให้ผู้ใต้บังคับบัญชาได้รับการถ่ายทอดทั้งความรู้ ความละเอียดรอบคอบและความมีหลักการ การออกแบบอาคารเน้นความเรียบง่าย ประหยัด ประโยชน์ใช้สอยมาก่อนความสวยงาม มีอาคารที่ออกแบบและคำนวณโครงสร้างเอง คือ อาคารที่ทำการสถานีตำรวจพลับพลาไชย สูง 5 ชั้น ในระหว่างที่อยู่กรมโยธาเทศบาลอาจารย์นารถก็ยังไปสอนเป็นอาจารย์พิเศษที่คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยอยู่ตลอดเวลา และเมื่อ พ.ศ. 2487 ได้เรียบเรียงหนังสือ "สถาปัตยกรรมในประเทศไทย" ตีพิมพ์เผยแพร่โดยกรมโยธาเทศบาลและใช้สอนทั้งในโรงเรียนช่างโยธาของกรมฯ เองและที่มหาวิทยาลัย
[แก้]บั้นปลายชีวิต
อาจารย์นารถ โพธิประสาทได้สมรสกับนางสาวสกุล (สกุนตลา) นิวาศนันท์ วิทยาศาสตร์บัณฑิตเมื่อ พ.ศ. 2484 แต่ไม่มีทายาท ในปี พ.ศ. 2485 (30 กันยายน) เมื่ออายุได้ 41 ปีได้รับพระราชโองการแต่งตั้งให้เป็นราชบัณฑิตในสาขาวิชาสถาปัตยศิลป์
เนื่อจากการขาดแคลนอาจารย์ผู้สอน ในปี พ.ศ. 2494 เมื่ออายุ 50 ปี จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยได้เจรจาขอโอนตัวกลับไปรับตำแหน่งอาจารย์เอกตามเดิม ซึ่งอาจารย์นารถได้ทุ่มเทให้กับการบริหารและการสอนอย่างหนักทำให้สุขภาพเสื่อมโทรม และในวันที่ 18 มิถุนายน พ.ศ. 2497 หลังจากกลับจากการประชุมปรับปรุงหลักสูตรสถาปัตยกรรมที่คณะสถาปัตยกรรมฯ เพียง 3-4 ชั่วโมง อาจารย์นารถ โพธิประสาทก็ถึงแก่กรรมจากโรคปอดซึ่งเป็นโรคที่ยังรักษาไม่ได้ในขณะนั้น
ปัจจุบันคณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยได้จัดวางรูปปั้นครึ่งตัวของอาจารย์นารถ โพธิประสาทไว้ ณ โถงทางเข้าอาคารเรียนหลังเดิมเพื่อเป็นการระลึกถึงคูณูปการที่ท่านอาจารย์ได้มีต่อการศึกษาและวิชาชีพสถาปัตยกรรมในประเทศไทยโดยจะมีพิธีสักการะทุกวันที่ 23 พฤษภาคมซึ่งเป็นวันเกิดคณะทุกปี